วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความเป็นพลเมืองโลก

โลกศึกษา(Global Education)
โลกศึกษา” (Global Education) หรือมีผู้บัญญัติว่าโลกาภิวัตน์ศึกษาเป็น แนวคิดทางการศึกษาซึ่งพัฒนามาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามนุษย์ปัจจุบันมีความเป็นอยู่ และ มีปฏิสัมพันธ์กันในโล ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น จึงจา เป็นต้องจัดการศึกษา เพื่อให้ ผู้เรียนรับรู้ความเป็นจริงต่าง ๆ ของโลกโลกาภิวัตน์ (Globalized world) และปลุก ให้ผู้เรียนได้ลุกขึ้นมาสร้างโลกที่มีความชอบธรรม เสมอภาค และเคารพสิทธิ มนุษยชนมากขี้น รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สันติภาพ การป้ องกัน ความขัดแย้ง และการศึกษาระหว่างวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นพลเมืองโลก
1.        ความเป็ นพลเมื องโลก (Global Citizenship)
 ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคมทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก ตลอดจนการมีส่วนร่วม รับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคมที่คา นึงถึงสิทธิมนุษยชนและอุดมการณ์ ประชาธิปไตย
สถาบันทางสังคม
สังคมเกิดจากการร่วมตัวกันของกลุ่มคนและกลุ่มสังคมที่หลากหลาย ทุกกลุ่มล้วนมี
วัตถุประสงค์ในการรวมตัวกันเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มตัวเอง เมื่อมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้ว
การจัดระเบียบแบบแผน การกำหนดกฎเกณฑ์ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มคณะ เพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยของสมาชิกของกลุ่มและคงความเสถียรภาพของสังคม ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้ง
เพื่อเป็นการเอื้อให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง โดยการจัดระเบียบแบบแผน ข้อกำหนด
กฎเกณฑ์ กลุ่มคนที่ที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เรียกว่า สถาบันทางสังคม
ความหมาย
สถาบันทางสังคม (Social Institution) หมายถึง องค์กรหรือกฎเกณฑ์และระเบียบแบบ
แผนของสังคมที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดระเบียบความประพฤติหรือติดต่อระหว่างกันของสมาชิก
ในสังคม ซึ่งบุคคลในสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่าเป็นการตอบสนองความจำเป็นใน
ด้านต่าง ๆ ของสังคมและแก่วิถีชีวิตของสมาชิกในสังคม โดยสถาบันสังคมที่กล่าวถึงนี้ปรากฎได้
ทั้งที่เป็นแบบรูปธรรม หมายถึง องค์กร เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท เป็นต้น และ แบบ
นามธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผน ที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ เป็นต้น
ลักษณะของสถาบันทางสังคม
ลักษณะของสถาบันทางสังคม สามารถพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (นิเทศ ตินณะ
กุล, ๒๕๔๙: ๑๐๘)
. ความจริงแท้ภายนอก (external reality) หมายความว่า สถาบันสังคมเป็นสิ่งที่อยู่
นอกตัวมนุษย์ มีลักษณะเปรียบได้กับสิ่งของต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ธรรมชาติ บ้าน เพราะเป็นปัจจัย
สำคัญที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์
. ภาวะวัตถุวิสัย (objectivity) หมายความว่า สถาบันทางสังคมเป็นเกณฑ์กลางที่
ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมดีงาม และควรยึด
ไว้เป็นหลักในการปฏิบัติตน
. อำนาจบังคับ (coerciveness) หมายความว่า สถาบันทางสังคมมีอำนสจบังคับ ให้
ปฏิบัติตามแบบแผนของสถาบัน
. อำนาจทางศีลธรรม (moral coerciveness) หมายความว่า สถาบันทางสังคมมี
อำนาจเด็ดขาดในการบังคับให้สมาชิกของสังคมทำตามกฎระเบียบของสถาบันและมีอำนาจในการ
ลงโทษ หากไม่ทำตาม ก็จะได้รับการลงโทษตามข้อกำหนดนั้น
. ความเป็ นประวัติศาสตร์ (historicity) หมายความว่า สถาบันทางสังคมเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว และยังดำรงอยู่ ดังนั้น สถาบันทางสังคมจึงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน
                               สหประชาชาติ
สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ ในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท สหประชาชาติมีองค์การย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อดำเนินการตามภารกิจ
สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ครอบคลุมรัฐอธิปไตยเกือบทุกรัฐบนโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 องค์กรหลัก ได้แก่: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก